วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องมาจากปัจจุบันนี้โลกของเราได้พัฒนาไปมาก ไม่ว่าเป็นด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ทำให้คนไทยปัจจุบันหลงใหลในความสะดวกสบายจนลืมชีวิตความเป็นอยู่ในแบบคนไทย ซึ่งคนไทยตอนนี้จะไม่ค่อยสนใจเข้ามาฟังธรรมและมีส่วนหนึ่งที่ยังคอยดูแลเอาใจใส่วัฒนธรรมไทยเป็นส่วนน้อยซึ่งถ้าเราปล่อยไว้อย่างนี้ก็ทำให้วัฒนธรรมไทยและโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาสูญหายหรือไม่ก็ไม่ได้รับการเอาใจใส่ดังเช่นถ้าเรากล่าวถึงสิมคนส่วนใหญ่ก็คงจะไม่รู้จักคำว่าสิมนั้นคืออะไร นั้นเป็นเพราะคนเรานั้นมัวแต่ลุ่มหลงกับวัฒนธรรมสมัยใหม่จนลืมความเป็นไทยของเรา คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหาจุดนี้จึงควรหาวิธีที่จะทำเนื้อหาที่กำลังจะถูกลืมหรือไม่รู้จักเลยมาเผยแผ่ให้กับบุคคลทั่วไปได้รับทราบและตระหนักว่าเมืองไทยของเรายังมีสิ่งที่ดีควรแก่การรักษาอีกมากมาย ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้หยิบยกเรื่องสิมอีสานมาทำเป็นโครงงานโดยทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิมอีสานที่วัดป่าสุนทราราม ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ.กุดแห่ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ที่แม้กระทั่งบางคนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงก็ยังไม่รู้จักว่ามีสิมเก่าอยู่ในวัดแห่งนี้ คณะผู้จัดทำจึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่จะสามารถนำข้อมูลมาเผยแผ่ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้และควรดูแลรักษาช่วยกันซึ่งจะทำให้สิมอีสานนี้ไม่สูญหายไปจากภาคอีสานหรือประเทศไทยของเราโดยเด็ดขาด
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของวัดสุนทราราม
2.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของเจ้าอาวาสวัดสุนทราราม
3.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัดสุนทราราม

ขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า
บ้านกุดแห่ ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ขอบเขตการทำงาน
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

สิม

สิม(โบสถ์ในภาษาอีสาน) สิมในอีสานแบ่งออกเป็นสองอย่างคือ”สิมน้ำ”กับ”สิมบก”ตามคติเก่านั้นการบวชต้องทำกันในสิมที่มีพัทธสีมาเป็นเขต หรือหาไม่ต้องไปบวชกันกลางน้ำใช้น้ำและขอบเขตของน้ำเป็นที่ประกอบพิธีหรืออาจสร้างสิมชั่วคราวขึ้นมากลางน้ำก็ได้ เพราะถือว่าน้ำนั้นเป็นสิ่งบริสุทธิ์ สิมน้ำ จึงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นชั่วคราวในบึงหรือสระจะตั้งไว้ที่ไหนก็แล้วแต่ชุมชนไหนสะดวกอย่างไรส่วนใหญ่ก็จะทำกัน ใกล้วัด ถ้าจะให้ถูกต้องดีงามชาวบ้านก็จะสร้างสิมให้ห่างจากฝั่งเพียงระยะวักน้ำด้วยแรงคนไม่ถึงมีสะพานทอดเข้าหาสิมเมื่อเข้า ไปทำพิธีกรรมก็ชักสะพานออกเพิ่ไม่ให้มีอะไรเชื่อมต่อกับแผ่นดินสิมน้ำจึงเป็นสิมที่บริสุทธิ์เป็นลัทธิความเชื่อของ พุทธศาสนาลังกาวงศ์ยังมีหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ที่วัดกัลยาณีประเทศศรีลังกาลักษณะโดยทั่วไปของสิมน้ำจะพบทั้ง แบบที่มีฝาและไม่มีฝาหลังคาก็จะเป็นแบบ”แป้นไม้”คล้ายกับกระเบื้องแต่ทำด้วยไม้เป็นแผ่นๆ สิมบก ต่างจากสิมน้ำตรงที่เป็นอาคารถาวรมีปรากฏโดยทั่วไปในชุมชนอีสานและสิมบกยังมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปสองสาม แบบคือ สิมไม้ สิมโถง และสิมก่อผนัง สิมไม้ เข้าใจว่าเป็นที่ต่อเนื่องมาจากสิมน้ำและจะพบมากในแถบอีสานใต้ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานีที่หลงเหลือให้ได้เห็นส่วนใหญ่ก็ไม่เก่าไปกว่า พ.ศ.2500 สิมไม้มักสร้างโดยชาวบ้านที่เป็นช่างมาร่วมลงแรงกันสร้างลักษณะจะออกมาเป็นฝีมือช่างชาวบ้านแท้ๆอยากตกแต่งใส่ ลวดลายอย่างไรก็ตามแต่ใครถนัดงานด้านไหนแต่ก็คงลักษณะเดิมเอาไว้ฐานสิมที่เป็นไม้ก็จะช่วยกันจำหลักบัวคว่ำบัวหงาย บางทีก็แกละลายบานหน้าต่าง ขอบหน้าต่าง ส่วนฝาก็ตีเกล็ดธรรมดา หน้าบันจะไม่มีอะไรประดับประดามากนัก เป็นสิมอย่างง่ายๆเห็นแล้วสบายตาสบายใจมีความสงบไม่หวือหวาและไม่ใหญ่โตโอฬาร สิมโถง เป็นอาคารโปร่งโล่งกะทัดรัดประกอบด้วยเสาไม้ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นรองรับหลังคาไม่มีฝา ถ้าจะทำฝาก็มักจะทำแต่ด้านที่มีพระประธานและมักสร้างเล็กๆเพื่อให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเพียงสี่ห้าองค์ ยกสูงจากพื้นพอประมาณหากมีชาวบ้านจะเข้าร่วมฟังเสียงธรรมก็ต้องนั่งบริเวณนอกสิม สิมโถงเป็นสิมที่เหมาะกับอากาศอันร้อนอบอ้าวของอีสานได้ดี เพราะมีลมถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีฝาปิดไม่มีเครื่องตกแต่งให้รกรุงรังแต่อย่างได เหมาะที่จะทำสังฆกรรมด้วยความสงบบางทีก็จะเห็นสิมโถงมีลักษณะลดหลั่นเหมือนขั้นบันไดทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนที่ จะสาดต้องพระประธานและเป็นการเสริมให้องค์พระสูงขึ้นในระดับที่ สง่าสวยงามขึ้นเป็นสุนทรียภาพง่ายๆของชาวบ้านนั้นเอง สิมก่อผนัง เป็นอาคารที่ก่อผนัง ด้วยปูนทั้งสี่ด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กมักใช้อิฐดิบ เป้นอิฐที่ใช้ดินเหนียวหรือที่คนอีสานเรียก”ดินโพน” ผสมกับฟางข้าว แกลบ และขี้งัวหรือขี้ควาย คลุกเข้าให้เข้ากัน แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาด 5”-8” โดยประมาณผนังสิมจะมีหน้าต่างน้อยมากอาจมีเพียงบานเดียวหรืออย่าง มากก็สองบานมีประตูด้านหน้าอาจมีบานประตูจำหลักไม้ฝีมือช่างชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา หรือหาไม่ก็เรื่องสิงสาราสัตว์ เรื่องธรรมชาติ ไปอีสานต้องได้ดูสิมอีสานจึงจะมองเห็นความเป็นอีสาน ซึ่งคือพื้นฐานของชุมชน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมักบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจนอย่างหนึ่ง