วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โครงงานวัฒนธรรมอีสาน เรื่องแหล่งท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ อุทยานแห่งชาติภูผา




โครงงานวัฒนธรรมอีสาน เรื่องแหล่งท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
ผู้จัดทำโครงงาน 1. นางสาวฐิตินันท์ กุภาพันธ์ เลขที่ 13
2. นางสาวทิพย์สุคนธ์ ทองปาน เลขที่ 16
3.นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีทะวรรณ์ เลขที่ 21
4.นางสาววิริยา ทองงาม เลขที่ 22
5.นางสาวสุพัตรา แสนปาง เลขที่ 25
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3
รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 42102 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
ชื่อคุณครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร 2. เพื่อศึกษาลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร 3. เพื่อศึกษาลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน
อ.เมือง จ.มุกดาหาร
ระยะการดำเนินงาน วันที่ ๓ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
ขอบเขตการศึกษา อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1. แผนที่เส้นทาง 2. แบบสัมภาษณ์ 3. กล้องถ่ายรูป การนำเสนอข้อมูล 1.ชาร์ตไวนิล 2. เอกสารโครงงาน 3. การบรรยาย
สรุปผล
1.ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันหลายเทือกเขาติดต่อกัน คือ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหินเทิบ ยอดเขาภูจองสีเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด คือสูงประมาณ 420 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นภูเขาหินตลอดทั้งมีหินกว้างยาวและหินทับซ้อนกันในรูปแบบต่างๆ
ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ มีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
- ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน มีฝนตกค่อนข้างมากในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนมกรคม มีอากาศหนาวมากในเดือนมกราคมอุณหภูมิต่ำมากโดยเฉพาะบนภูเขาสูง
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม อากาศร้อนชื้น ร้อนมากในเดือนเมษายน



ทรัพยากรธรรมชาติ
- สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังตามธรรมชาติ มีพรรณไม้นานาชนิดได้แก่ ตะแบก พะยอม จิก ติ้ว จำปีป่า ยมหอม เหียง เต็ง รัง เป็นต้น
- สัตว์ป่าที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า กวาง เก้ง และนกนานาชนิด
2.อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวดมุกดาหาร อยู่ในเขตตำบลนาสีนวน บริเวณที่ทำการอุทยานห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร
3. ลักษณะโดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกับเพิงผาที่กันแดดกันลมได้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า “เทิบ” บางอันเป็นรูปร่างคล้ายร่ม เห็ดขาดใหญ่ สันนิษฐานว่าบริเวณ กลุ่มหินนี้ แต่ก่อนคงปกคลุมด้วยหิน เป็นภูเขาดินที่ต่อมาถูกฝน ลมกัดเซาะพังทลายลงเรื่อยๆจึงมองเห็นเหินโผล่พ้นมาเป็นกลุ่มก้อน

ข้อมูลทั่วไป ในปี 2527 กองอุทยานแห่งชาติ ได้รับรายงานจากป่าไม้จังหวัดมุกดาหารตามหนังสือ ที่
มห 009/6913 ลงวันที่ 24 เมษายน 2527 ว่า จังหวัดได้รับนโยบายจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการอนุรักษ์ป่าใกล้จังหวัดและอำเภอต่างๆ ในรูปอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน หรือสวนรุกขชาติ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจังหวัดได้สำรวจสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติหรือวนอุทยานแล้ว กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1260/2527 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2527 ให้นายเชิดชัย นิลัมภาชาต เจ้าพนักงานธุรการ 4 และนายพงษ์ศักดิ์ จักรกุล พนักงานพิทักษ์ป่า ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นในท้องที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล ตำบลนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จากรายงานการสำรวจตามหนังสือลงวันที่ 22 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่า บริเวณภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ และภูมโน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงบังอี้ เนื้อที่ประมาณ 49.26 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นภูเขาสูงชันเป็นเทือกเขาติดต่อกัน มีป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง มีหน้าผาสูง และลานหินกว้างและยาว ประกอบด้วยหินรูปร่างต่างๆ วางซ้อนทับกันอยู่ มีถ้ำที่สวยงาม กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/4655 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2527 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1951/2527 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2527 ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปดำเนินการจัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(มห)/1 ลงวันที่ 30 มกราคม 2528 รายงานการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการต่อไป ในระหว่างการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ได้มีราษฎรคัดค้านและต่อต้านการจัดตั้ง เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหาของป่าและการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ได้แก้ปัญหาดังกล่าวจนเป็นที่เข้าใจ และทางสภาตำบลบ้านแก้งได้มีมติยืนยันและสนับสนุนให้ทางราชการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติจังหวัดมุกดาหารได้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จังหวัด ครั้งที่ 2/2530 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2530 ได้มีมติสนับสนุนให้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติคราวประชุมครั้งที่ 1/2530 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2530 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้ โดยได้
มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดงบังอี้ ในท้องที่ตำบลศรีบุญเมือง ตำบลคำอาฮวน ตำบลดงเย็น ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง และตำบลบ้านแก้ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 105 ตอนที่ 235 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2531 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

สถานที่น่าเที่ยวชมภายในอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร ได้แก่1.กลุ่มหินเทิบ การเกิดกลุ่มหินเทิบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาของประติมากรรม ธรรมชาติเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกัดเซาะของฝน น้ำ ลมและแสงแดด ผ่านกาลเวลามาถึง 120-95 ล้านปีทำให้กลุ่มหินเหล่านี้มีสภาพแตกต่างกันไปดูคล้ายรูปไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้และหอยสังข์ ซึ่งความคงทนของชั้นหินที่แตกต่างกันก็เนื่องจากการประสานของเนื้อทรายแตกต่างกัน หินทรายชั้นบนที่คงทนมีสีเนื้อหินเป็นสีน้ำตาล มีส่วนประกอบที่เป็นซิลิกาและเม็ดกรวดมาก ส่วนหินทรายชั้นต่ำลงมาที่ไม่คงทนมีสีของเนื้อหินเป็นสีขาวจะมีส่วนผสมของคาร์บอเนตมากสภาพของธรณีวิทยา บริเวณกลุ่มหินเทิบประกอบด้วยหินชั้นของหมวดหินเสาขัวและกลุ่มหินภูพานของกลุ่มหินโคราช มีการลำดับชั้นหินอยู่ในมหายุคมีโซโซอิค ประกอบด้วย หินโคลน หินทราย หินทรายแป้ง และหินกรวดมนหนาประมาณ 200 เมตร
2.ลานมุจลินท์ เป็นลานหินเรียบทอดยาวกว้างไกลต่อจากกลุ่มหินเทิบ โดยมีป่าเต็งรังแคระล้อมรอบให้ความงดงามกลมกลืนกับธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง มีพันธุ์ไม้พุ่มจำพวกข่อยหิน นางฟ้าจำแลง อ้นเหลืองและกระโดนดาน เป็นส่วนประกอบจุดเด่นของที่นี้ที่ไม่ควรมองข้ามคือกลุ่มดอกหญ้าของสังคมพืชขนาดเล็ก เช่น สร้อยสุวรรณา หยาดน้ำค้าง หนาวเดือนห้า ดาวรวมดวงและดุสิตา ซึ่งจะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี ณ กลางลานแห่งนี้ยังสามารถมองเห็นทัศนียภาพแม่น้ำโขงได้ด้วย
3.น้ำตกวังเดือนห้า เป็นน้ำตกขนาดเล็กเกิดจากสายธารที่ไหลผ่านลานหินมุจลินท์ ภายในน้ำตกประกอบไปด้วยแอ่งหิน หุบหิน โขดหิน นักท่องเที่ยวนิยมไปชมทัศนียภาพและเล่นน้ำตกในฤดูแล้ง จะมีบ่อน้ำซับไหลหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์และสัตว์ป่า
4.ผาอูฐ หน้าผาแห่งนี้มีประติมากรรมหินรูปร่างคล้ายอูฐทะเลทรายและเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม สามารถมองเห็นภูถ้ำพระ ผาผักหวานและผาขี้หมู ได้อย่างชัดเจน เบื้องล่างของผาอูฐคือหุบเขากว้างไกลและมีป่าไม้เขียวขจีปกคลุม
5.ภูถ้ำพระ ตามตำนานแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ สมัยโบราณ เคยมีหมู่บ้านขอมอาศัยอยู่มาก่อนที่จะย้ายถิ่นฐานหนีภัยธรรมชาติ จึงนำพระพุทธรูปที่ตนบูชาสักการะไปเก็บไว้ที่ถ้ำแห่งนี้ประกอบไปด้วย พระเงิน พระนาก พระทองคำ พระหยก พระว่านและพระไม้ เป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน พระพุทธรูปที่มีค่าสูญหายคงเหลือเฉพาะพระที่แกะสลักด้วยไม้เท่านั้น ณ ตรงนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามคือ “น้ำตกภูถ้ำพระ” อีกด้วย
6.ผามะนาว เป็นหน้าผาเรียบสูงชันมีน้ำตกไหลจากบนหน้าผาลงสู่เบื้องล่างหล่อเลี้ยงทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้อุดมสมบูรณ์ ด้านบนหน้าผาสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของกลุ่มหินเทิบและแม่น้ำโขงได้กว้างไกล ด้านล่างของหน้าผาจะพบความสวยงามของน้ำตก ป่าไม้และสัตว์ป่า สำหรับที่มาของชื่อผามะนาว เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีต้นมะนาวป่าขึ้นเป็นจำนวนมาก
7.ถ้ำฝ่ามือแดง นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าภาพเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีและเป็นของมนุษย์สมัยโบราณ แหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้อยู่ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร 1(ห้วยสิงห์) ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมุกดาหารประมาณ 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ อุทยานฯ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายจุดคือ ผางอยและผาปู่เจ้า ฤดูกาลท่องเที่ยวของอุทยานฯคือ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ และฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมอุทยาน
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันหลายเทือกเขาติดต่อกัน คือ ภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ ภูหมากยาง ภูโป่ง ภูมโน มียอดเขาภูจอมศรีเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด คือ สูงประมาณ 420 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นภูเขาหินตลอดทั้งมีหินกว้างยาวและหินทับซ้อนกันในรูปต่างๆ หน้าผาสูงชัน และดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิง ห้วยสะพาย ห้วยเรือ ห้วยบอน ห้วยช้างชน ห้วยไค้ และห้วยมะเล เป็นต้น
หินรูปร่างแปลกๆ ในบริเวณภูผาเทิบ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาศัยกาลเวลายาวนาน กระแสลม น้ำ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นลักษณะพิเศษที่โดดเด่นจนได้รับการจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชมประติมากรรมธรรมชาติ ที่ผ่านการสร้างสรรค์ทางธรรมชาติมากว่า 95-120 ล้านปี ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันดูคล้ายรูปไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้และหอยสังข์ เป็นต้น
หินทรายเหล่านี้เกิดการประสานเนื้อทรายที่มีความคงทนและสีต่างกัน ชั้นบนที่มีสีน้ำตาลเข้มจะมีส่วนประกอบที่เป็นซิลิกาและเม็ดกรวดมาก ส่วนทรายที่อยู่ต่ำลงมามีความคงทนน้อยกว่า สีเนื้อหินจะเป็นสีขาว มีส่วนผสมของคาร์บอเนตมาก
หินทรายเหล่านี้เกิดการประสานเนื้อทรายที่มีความคงทนและสีต่างกัน ชั้นบนที่มีสีน้ำตาลเข้มจะมีส่วนประกอบที่เป็นซิลิกาและเม็ดกรวดมาก ส่วนทรายที่อยู่ต่ำลงมามีความคงทนน้อยกว่า สีเนื้อหินจะเป็นสีขาว มีส่วนผสมของคาร์บอเนตมาก สภาพทางธรณีวิทยาของกลุ่มหินภูผาเทิบประกอบด้วยหินชั้นของหมวดเสาขัวและกลุ่มหินภูพานของกลุ่มหินโคราช ลำดับชั้นหินอยู่ในมหายุคโซโซอิค ประกอบด้วย หินโคลน หินทราย หินทรายแป้ง และหินกรวด หนาประมาณ 200 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติมีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม
พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังตามธรรมชาติ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ตะแบก พยอม พะยูง ตะเคียน ประดู่ แดง มะไฟ มะค่า ชิงชัน กระบก กระบาก ส้าน จิก ติ้ว จำปีป่า ยมหอม เหียง เต็ง รัง เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า กวางป่า เก้ง หมา จิ้งจอก ลิง กระต่าย นกยูง ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด กลุ่มสังคมหญ้าขนาดเล็ก เช่น สร้อยสุวรรณา หยาดน้ำค้าง หนาวเดือนห้า ดาวรวมดวง และดุสิตา ซึ่งจะออกบานสะพรั่งในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี หากยืนอยู่บนลานแห่งนี้จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพแม่น้ำโขงได้ด้วย นอกจากนี้ยังมี น้ำตกวังเดือนห้า ผาอูฐ ภูถ้ำพระ ผามะนาว และถ้ำฝ่ามือแดง
ในอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่หน้าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ ลานมุจลินทร์ เป็นลานหินเรียบทอดยาวกว้างไกลต่อจากกลุ่มหินเทิบ มีป่าเต็งรังแคระล้อมรอบ และมีพันธุ์ไม้พุ่ม จำพวกข่อย นางฟ้าจำแลง อ้นเหลือง และกระโดนดาน
ดอกหญ้าบนลานหิน
บริเวณลานหินนี้ มนช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม จะพบพืชกินแมลง 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มสาหร่ายข้าวเหนียว (วงศ์ Lentbulariaceae) ดอกหญ้าทั้งหมดในวงศ์นี้เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าฯพระบรมราชินยีนาถอย่างยิ่งได้พระราชทานนามที่แสนไพเราะให้ดอกไม้เหล่านี้ ได้แก่ ดุสิตา, สร้อยสุวรรณา, มณีเทวา, ทิพย์เกสร, ทิพย์จันทร์ และสรัสจันทร์ กลุ่มที่กินแมลง ได้แก่ กลุ่มหญ้าน้ำค้าง (วงศ์ Droser Aceae) เช่น หญ้าน้ำค้างและหยาดน้ำค้าง เป็นต้น



วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
สืบเนื่องจากว่าในการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายวิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยเรื่องสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จำแนกได้เป็น 3 ประเภทคือ 1. ภูมิประเทศ
2. ภูมิอากาศ 3. ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการจัดทำโครงงานในครั้งนี้จะต้องออกสำรวจจากประสบการณ์จริง ทางคณะผู้จักทำจึงได้ออกเดินทางเพื่อทำการศึกษาอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ซึ่งเป็นอุทยานที่มีลักษณะภูมิประเทศที่ชัดเจน มีสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรที่น่าศึกษาค้นคว้า เราจึงได้มีการดำเนินการที่จะออกสำรวจเพื่อจะได้มาซึ่งข้อมูล เพื่อนำมาเป็นหลักการและแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้น ถ้านักเรียนได้ทำการศึกษาจากประสบการณ์จริงก็จะเกิดการเรียนรู้ และเป็นแนวทางที่ดีอย่างหนึ่ง ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีความเอาใจใส่และสามารถนำวิชาภูมิศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีหลักการและถูกต้อง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
2. เพื่อศึกษาลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
3. เพื่อศึกษาลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน
อ.เมือง จ.มุกดาหาร
ขอบเขตการศึกษา
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
ระยะการดำเนินงาน
วันที่ ๓ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
คำศัพท์เฉพาะ
ภูผาเทิบ คือ ปฏิมากรรมธรรมชาติแห่งหินน่าอัศจรรย์
ผาเทิบ คือ กลุ่มหินทรายซ้อนทับกัน

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องมาจากปัจจุบันนี้โลกของเราได้พัฒนาไปมาก ไม่ว่าเป็นด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ทำให้คนไทยปัจจุบันหลงใหลในความสะดวกสบายจนลืมชีวิตความเป็นอยู่ในแบบคนไทย ซึ่งคนไทยตอนนี้จะไม่ค่อยสนใจเข้ามาฟังธรรมและมีส่วนหนึ่งที่ยังคอยดูแลเอาใจใส่วัฒนธรรมไทยเป็นส่วนน้อยซึ่งถ้าเราปล่อยไว้อย่างนี้ก็ทำให้วัฒนธรรมไทยและโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาสูญหายหรือไม่ก็ไม่ได้รับการเอาใจใส่ดังเช่นถ้าเรากล่าวถึงสิมคนส่วนใหญ่ก็คงจะไม่รู้จักคำว่าสิมนั้นคืออะไร นั้นเป็นเพราะคนเรานั้นมัวแต่ลุ่มหลงกับวัฒนธรรมสมัยใหม่จนลืมความเป็นไทยของเรา คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหาจุดนี้จึงควรหาวิธีที่จะทำเนื้อหาที่กำลังจะถูกลืมหรือไม่รู้จักเลยมาเผยแผ่ให้กับบุคคลทั่วไปได้รับทราบและตระหนักว่าเมืองไทยของเรายังมีสิ่งที่ดีควรแก่การรักษาอีกมากมาย ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้หยิบยกเรื่องสิมอีสานมาทำเป็นโครงงานโดยทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิมอีสานที่วัดป่าสุนทราราม ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ.กุดแห่ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ที่แม้กระทั่งบางคนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงก็ยังไม่รู้จักว่ามีสิมเก่าอยู่ในวัดแห่งนี้ คณะผู้จัดทำจึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่จะสามารถนำข้อมูลมาเผยแผ่ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้และควรดูแลรักษาช่วยกันซึ่งจะทำให้สิมอีสานนี้ไม่สูญหายไปจากภาคอีสานหรือประเทศไทยของเราโดยเด็ดขาด
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของวัดสุนทราราม
2.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของเจ้าอาวาสวัดสุนทราราม
3.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัดสุนทราราม

ขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า
บ้านกุดแห่ ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ขอบเขตการทำงาน
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

สิม

สิม(โบสถ์ในภาษาอีสาน) สิมในอีสานแบ่งออกเป็นสองอย่างคือ”สิมน้ำ”กับ”สิมบก”ตามคติเก่านั้นการบวชต้องทำกันในสิมที่มีพัทธสีมาเป็นเขต หรือหาไม่ต้องไปบวชกันกลางน้ำใช้น้ำและขอบเขตของน้ำเป็นที่ประกอบพิธีหรืออาจสร้างสิมชั่วคราวขึ้นมากลางน้ำก็ได้ เพราะถือว่าน้ำนั้นเป็นสิ่งบริสุทธิ์ สิมน้ำ จึงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นชั่วคราวในบึงหรือสระจะตั้งไว้ที่ไหนก็แล้วแต่ชุมชนไหนสะดวกอย่างไรส่วนใหญ่ก็จะทำกัน ใกล้วัด ถ้าจะให้ถูกต้องดีงามชาวบ้านก็จะสร้างสิมให้ห่างจากฝั่งเพียงระยะวักน้ำด้วยแรงคนไม่ถึงมีสะพานทอดเข้าหาสิมเมื่อเข้า ไปทำพิธีกรรมก็ชักสะพานออกเพิ่ไม่ให้มีอะไรเชื่อมต่อกับแผ่นดินสิมน้ำจึงเป็นสิมที่บริสุทธิ์เป็นลัทธิความเชื่อของ พุทธศาสนาลังกาวงศ์ยังมีหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ที่วัดกัลยาณีประเทศศรีลังกาลักษณะโดยทั่วไปของสิมน้ำจะพบทั้ง แบบที่มีฝาและไม่มีฝาหลังคาก็จะเป็นแบบ”แป้นไม้”คล้ายกับกระเบื้องแต่ทำด้วยไม้เป็นแผ่นๆ สิมบก ต่างจากสิมน้ำตรงที่เป็นอาคารถาวรมีปรากฏโดยทั่วไปในชุมชนอีสานและสิมบกยังมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปสองสาม แบบคือ สิมไม้ สิมโถง และสิมก่อผนัง สิมไม้ เข้าใจว่าเป็นที่ต่อเนื่องมาจากสิมน้ำและจะพบมากในแถบอีสานใต้ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานีที่หลงเหลือให้ได้เห็นส่วนใหญ่ก็ไม่เก่าไปกว่า พ.ศ.2500 สิมไม้มักสร้างโดยชาวบ้านที่เป็นช่างมาร่วมลงแรงกันสร้างลักษณะจะออกมาเป็นฝีมือช่างชาวบ้านแท้ๆอยากตกแต่งใส่ ลวดลายอย่างไรก็ตามแต่ใครถนัดงานด้านไหนแต่ก็คงลักษณะเดิมเอาไว้ฐานสิมที่เป็นไม้ก็จะช่วยกันจำหลักบัวคว่ำบัวหงาย บางทีก็แกละลายบานหน้าต่าง ขอบหน้าต่าง ส่วนฝาก็ตีเกล็ดธรรมดา หน้าบันจะไม่มีอะไรประดับประดามากนัก เป็นสิมอย่างง่ายๆเห็นแล้วสบายตาสบายใจมีความสงบไม่หวือหวาและไม่ใหญ่โตโอฬาร สิมโถง เป็นอาคารโปร่งโล่งกะทัดรัดประกอบด้วยเสาไม้ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นรองรับหลังคาไม่มีฝา ถ้าจะทำฝาก็มักจะทำแต่ด้านที่มีพระประธานและมักสร้างเล็กๆเพื่อให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเพียงสี่ห้าองค์ ยกสูงจากพื้นพอประมาณหากมีชาวบ้านจะเข้าร่วมฟังเสียงธรรมก็ต้องนั่งบริเวณนอกสิม สิมโถงเป็นสิมที่เหมาะกับอากาศอันร้อนอบอ้าวของอีสานได้ดี เพราะมีลมถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีฝาปิดไม่มีเครื่องตกแต่งให้รกรุงรังแต่อย่างได เหมาะที่จะทำสังฆกรรมด้วยความสงบบางทีก็จะเห็นสิมโถงมีลักษณะลดหลั่นเหมือนขั้นบันไดทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนที่ จะสาดต้องพระประธานและเป็นการเสริมให้องค์พระสูงขึ้นในระดับที่ สง่าสวยงามขึ้นเป็นสุนทรียภาพง่ายๆของชาวบ้านนั้นเอง สิมก่อผนัง เป็นอาคารที่ก่อผนัง ด้วยปูนทั้งสี่ด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กมักใช้อิฐดิบ เป้นอิฐที่ใช้ดินเหนียวหรือที่คนอีสานเรียก”ดินโพน” ผสมกับฟางข้าว แกลบ และขี้งัวหรือขี้ควาย คลุกเข้าให้เข้ากัน แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาด 5”-8” โดยประมาณผนังสิมจะมีหน้าต่างน้อยมากอาจมีเพียงบานเดียวหรืออย่าง มากก็สองบานมีประตูด้านหน้าอาจมีบานประตูจำหลักไม้ฝีมือช่างชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา หรือหาไม่ก็เรื่องสิงสาราสัตว์ เรื่องธรรมชาติ ไปอีสานต้องได้ดูสิมอีสานจึงจะมองเห็นความเป็นอีสาน ซึ่งคือพื้นฐานของชุมชน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมักบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจนอย่างหนึ่ง